“ทางรอดเบาหวาน” กับ 5 วิธีจัดการแป้งน้ำตาลที่ใครๆ ก็ทำได้
เบาหวาน ภัยเงียบของสุขภาพ ที่คร่าชีวิตคนในทุก ๆ 6 นาที สาเหตุหนึ่ง มาจากการทานแป้งหรือน้ำตาลที่เกินความจำเป็น ผนวกกับความเคยชินในพฤติกรรมผิดๆ ที่สะสมมาตั้งแต่อดีต แก้ได้ง่ายๆ ตั้งแต่ยังไม่สายเพียงปรับพฤติกรรมทีละน้อย ก็เตรียมมีสุขภาพดี โบกมือลาปัญหาน้ำตาลในเลือดสูง
-
เพิ่มผักสมุนไพรไว้ในจาน ช่วยลดน้ำตาล ต้านทานความเสื่อม
นอกจากวิตามินและเกลือแร่แล้วเรายังได้รับของแถมดี ๆ เป็นสารพฤกษเคมีนานาชนิด ซึ่งช่วยชะลอความเสื่อมและต้านทานอนุมูลอิสระ แต่เท่านั้นยังไม่พอ ผักและสมุนไพรบางชนิด เช่น มะระขี้นก ใบกะเพรา กะหล่ำปลีแดง ฯลฯ ยังช่วยกระตุ้นให้ร่างกายผลิตอินซูลิน เสริมระบบเผาผลาญ และเข้าจัดการกับน้ำตาลได้อย่างมีประสิทธิภาพTips : กินให้สุขภาพดี ต้องมีผักอย่างน้อย ๆ ครึ่งหนึ่งของจาน

-
กินข้าวกล้องแทนข้าวขาว อิ่มท้องนาน น้ำตาลไม่แกว่ง
ข้าวกล้อง ข้าวขัดสีเฉพาะเปลือกนอก ที่ยังคงอุดมไปด้วยใยอาหาร วิตามิน และเกลือแร่ เมื่อมีใยอาหารเป็นส่วนประกอบ การทานข้าวกล้องจึงช่วยควบคุมการดูดซึมของน้ำตาล ให้เข้าสู่ร่างกายอย่างช้า ๆ เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำตาล ให้ความรู้สึกอิ่มนาน ลดพฤติกรรมการกินจุบกินจิบ
ความไวในการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่ร่างกายของข้าวแต่ละชนิด โดยใช้หน่วยวัด ดัชนีน้ำตาล Glycemic index (GI)- ข้าวขาวหอมมะลิ GI 100 = สูง
- ข้าวเหนียว GI 98 = สูง
- ข้าวกล้อง GI 50 = ต่ำ
Tips : ลดข้าว งดแป้ง เน้นการบริโภคผัก เพื่อสุขภาพที่ดีกว่าสำหรับการบริโภคข้าวกล้องในผู้ป่วยเบาหวาน ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อน เนื่องจากมีฟอสฟอรัสและแคลเซียม ซึ่งอาจส่งผลต่อการทำงานของไต

-
เลือกความหวานจากผลไม้น้ำตาลต่ำ แทนการกินขนมเพื่อจบมื้ออาหาร
กินคาวเสร็จก็ต้องปิดด้วยหวานตามนิสัย “จะให้หยุดเลยใครจะทำได้” เริ่มปรับพฤติกรรมให้รอดจากเบาหวานโดยไม่ต้องอด ด้วยการเปลี่ยนเมนูขนมปิดท้ายเป็นผลไม้น้ำตาลต่ำ เช่น แอปเปิ้ล ฝรั่ง ชมพู่ แก้วมังกร หรือ มะละกอการเลือกกินผลไม้เหล่านี้แทนขนมหวานๆ จะช่วยให้ท้องอิ่มกำลังดี สามารถลดความอยากอาหารและปริมาณน้ำตาลส่วนเกิน ที่ได้จากการกินขนม
Tips : เลี่ยงการดื่มน้ำผลไม้ทั้งแบบคั้นสดและแบบกล่องเพราะปราศจากใยอาหารที่ช่วยชะลอการดูดซึม ทั้งยังมีปริมาณน้ำตาลจำนวนมาก

-
ดื่มน้ำหวานอย่างปลอดภัย ให้หญ้าหวาน หวานแทนน้ำตาล
“น้ำหวานบางชนิดไม่จำเป็นต้องอด” แค่ดื่มอย่างพอดี หรือเลือกส่วนประกอบเป็น ก็สามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย ห่างไกลกลุ่มโรคร้ายที่มีต้นเหตุมาจากน้ำตาล ไม่ว่าจะเป็นโรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจ แค่เลือกเครื่องดื่มรสหวาน ที่ใช้ Stevia เป็นสารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล Stevia หรือ “หญ้าหวาน” พืชยอดนิยมสำหรับการควบคุมน้ำตาล สามารถบริโภคได้ด้วยการต้มกับน้ำ หรือสกัดออกมาในรูปของสารให้ความหวาน (Stevioside) ซึ่งปัจจุบันถูกใช้อย่างแพร่หลายทั้งในไทยและต่างประเทศ
ประโยชน์ของหญ้าหวาน
- ใบสดมีความหวานมากกว่าน้ำตาล 10-15 เท่า
- หญ้าหวานสกัด สามารถให้ความหวานได้มากถึง 300 เท่า
- ลดน้ำตาลในเลือดและความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ
- เพิ่มความหวานให้กับอาหารหรือเครื่องดื่ม โดยไม่พึ่งน้ำตาล
- ไม่ก่อให้เกิดพลังงาน และปลอดภัยต่อการบริโภค

-
หยุด ลด เลิกการปรุงเพิ่มจากเมนูเดิม
เน้นรสชาติแท้ ๆ จากวัตถุดิบ กินก๋วยเตี๋ยวแบบไม่ปรุงเพิ่ม หยุดเติมซอสลงบนอาหาร ลดน้ำจิ้มให้น้อยลง “ช่วยลดปริมาณน้ำตาลในหลอดเลือด” เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของอาหารไทยคือความหวาน ในตำรับของทุกเมนูจึงมักพบน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ บ้างก็มาในรูปของซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอส เป็นต้น นอกจากจะลดการปรุงรสขณะประกอบอาหารลงแล้ว ยังไม่ควรเติมเครื่องปรุงซ้ำ เพราะจะเป็นการเพิ่มน้ำตาลส่วนเกินโดยไม่จำเป็น ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานและโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานในอนาคต
Tips : โดยเฉลี่ยในซอสมะเขือเทศ 100 กรัม จะประกอบไปด้วยน้ำตาลกว่า 9 กรัม ซึ่งมากกว่าเกณฑ์ปกติ ที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้บริโภค
ติดต่อสอบถาม
โทรศัพท์ : 02-129-5500
Line : @TRIABKK
facebook : TRIA Medical Wellness Center